ปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นครูที่ดีมีจรรยาบรรณ
“......ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวม ระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ วางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ…..."
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ครูอาวุโส ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๓
จรรยาบรรณ
เป็นเครื่องมือที่แสดงถึง ความมีมาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติตัวที่ดี ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือวิชาชีพใดก็ตามล้วนแต่ต้องมีจรรณยาบรรณเป็นเครื่องประกอบทั้งสิ้น
ครู เป็นวิชาชีพที่ให้ความหมายกับคำว่าจรรณยาบรรณสูงมาก เพราะครูไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การการสอนหนังสือหรือเนื้อหาในแต่ละรายวิชาเท่านั้น แต่ครูยังต้องให้การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ เป็นแม่แบบที่ดีให้กับลูกศิษย์ เพื่อลูกศิษย์ของตนจะได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีในสังคมได้ โดยจรรยาบรรณที่ครูยึดถือปฏิบัตินั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ด้าน 9 ข้อ นั่นคือ
ด้านที่ 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ 1. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
"ในเรื่องของการพัฒนาตนเองนั้น ครูจะคอยติดตามข่าวสาร ศึกษาหาเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ รวมถึงความรู้ใหม่ๆ และความรู้ที่ทันสมัย อย่่างสม่ำเสมอ และทุกๆครั้งที่สอนครูจะเข้าสอนตรงเวลา นั่นเพราะครูหวังแค่เพียงอยากให้ความรู้เเก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่เท่านั้นเอง"
ด้านที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ 2. ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
"ครูไม่ได้ให้การอบรมณ์สั่งสอนลูกศิษย์เพียงเพราะว่ามันเป็นหน้าที่ แต่สิ่งเหล่านั้นครูได้ทำไปเพราะมันเป็นความรัก ความรักที่อยากจะสอน ความรักที่อยากจะดูเเลลูกศิษย์ อยากเห็นลูกศิษย์เป็นคนดีและมีอนนาคตที่ดี เท่านั้นเอง"
ด้านที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ 3. ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผุ้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้าข้อ 4. ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทและหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ 5. ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
ข้อ 6. ต้องไม่กระทำตนเป็นปรปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจาและจิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
ข้อ 7. ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
"ใน ชั่วชีวิตของครู ครูมักจะเป็นผู้ที่เสียสละตนเองอยู่ตลอดเวลา ทั้งความสุข ความสบาย ครูยอมเสียสละได้หากนั่นเป็นสิ่งที่ทำเเล้วเกิดประโยชน์กับลูกศิษย์ของตน"
ด้านที่ 4 จรรยาบรรณต่อเพื่อนร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ 8. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ 
"ในบางครั้งของการทำงาน ครูก็จะพบเจอกับปัญหาต่างๆ บางปัญหาแก้สามารถได้ดี แต่สำหรับบางปัญหาที่แก้ได้ไม่ดี เพื่อนๆครูก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน"
ด้านที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ 9. พึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข "ครู เป็นผู้ที่รักษาผลประโยชน์ให้กับส่วนรวมหรือสังคม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น